วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การละเล่นของไทย
การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่กาลครั้งไหน คงไม่มีใครทราบได้ แต่การเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบ เนื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดเข้าสู่กระแสชีวิตและตกทอดกันมาตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายายของปู่ย่าตายายโน่น เอาตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็คงจะได้เห็นปลาตะเพียนที่ผู้ใหญ่แขวน ไว้เหนือเปลให้เด็กดู “เล่น” เป็นการบริหารลูกตา แหวกว่ายอยู่ในอากาศแล้ว พอโตขึ้นมาสัก 3-4 เดือน ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” “แกว่งแขนอ่อน เดินไว ๆ ลูกร้องไห้ วิ่งไปวิ่งมา” โดยที่จะคิดถึงจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่สุดรู้ แต่ผลที่ตามมานั้นเป็นการหัดให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อแขนประสานกับสายตา
|
ประเพณีไทย
(ประเพณีวันสงกรานต์)
สงกรานต์ (อังกฤษ: Water Festival ถอดเป็นอักษรละติน: Songkran; เขมร: សង្រ្កាន្ត; พม่า: သင်္ကြန်; ลาว: ສົງການ; จีน: 泼水节) เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย[1]สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม[2]
สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 จากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483[3]
พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ ซึ่งตัดส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมไป
ประเพณีไทย
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
คุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมธรรมและจริยธรรมความเป็นครูที่ควรปฏิบัติ
จริยธรรม หมายถึง หลักปฏิบัติที่ดีงาม แสดงออกทางกาย วาจา
เช่น มารยาท วัฒนธรรม ประเพณี
เช่น มารยาท วัฒนธรรม ประเพณี
คุณธรรม หมายถึง ความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี สำนึกในหน้าที่
1. ธรรมมีอุปการะมาก เป็นธรรมที่เกื้อกูลในการทำความดีทุกอย่าง
1. สติ : รู้จักกำหนด จดจำระลึกถึงการกระทำ
2. สัมปชัญญะ : ความรู้ตัวอยู่ทุกขณะ
2. ธรรมคุ้มครองโลก ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย
1. หิริ : ความละอายบาป
2. โอตตัปปะ : ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อการทำชั่ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)