ศีลธรรม  หมายถึง  หลักปฏิบัติ ควบคุมกาย และวาจาให้เป็น
ไปในทางที่ชอบ
จริยธรรม  หมายถึง  หลักปฏิบัติที่ดีงาม แสดงออกทางกาย วาจา 
เช่น มารยาท วัฒนธรรม ประเพณี
คุณธรรม  หมายถึง  ความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี สำนึกในหน้าที่





1. ธรรมมีอุปการะมาก  เป็นธรรมที่เกื้อกูลในการทำความดีทุกอย่าง
     
     1.  สติ : รู้จักกำหนด จดจำระลึกถึงการกระทำ
     2.  สัมปชัญญะ : ความรู้ตัวอยู่ทุกขณะ
2. ธรรมคุ้มครองโลก  ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย
     1.  หิริ : ความละอายบาป
     2.  โอตตัปปะ : ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อการทำชั่ว


3. ศีล 5  เป็นจริยธรรมสำหรับมนุษย์ที่จะประพฤติ
     1.  ไม่ฆ่าสัตว์
     2.  ไม่ลักขโมย
     3.  ไม่ประพฤติผิดในกาม
     4.  ไม่โกหก
     5.  ไม่เสพเครื่องดอง ของเมา
4. อิทธิบาท 4  หลักแห่งความสำเร็จ
     1.  ฉันทะ : มีใจรัก
     2.  วิริยะ : พากเพียรทำ
     3.  จิตตะ : จิตใจฝักใฝ่
     4.  วิมังสา : ใช้ปัญญาไตร่ตรอง
5. อริยสัจ 4  ความจริงอันประเสริฐ ใช้ในการครองตน ครองคน ครองงาน
     1.  ทุกข์ : ความทุกข์ สภาพของทุกข์
     2.  สมุทัย : เหตุเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่กามตัณหา,ภวตัณหา,วิภวตัณหา
     3.  นิโรธ : ความดับทุกข์
     4.  มรรค : ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
6. มรรค 8  ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ
     1.  สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจถูกต้อง
     2.  สัมมาสังกัปปะ : ความใฝ่ใจถูกต้อง
     3.  สัมมาวาจา : การพูดจาถูกต้อง
     4.  สัมมากัมมันตะ : การกระทำถูกต้อง
     5.  สัมมาอาชีวะ : การดำรงชีพถูกต้อง
     6.  สัมมาวายามะ : ความพากเพียรถูกต้อง
     7.  สัมมาสติ : การระลึกประจำใจถูกต้อง
     8.  สัมมาสมาธิ : การตั้งใจมั่นถูกต้อง